บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บบล็อก (อังกฤษ: webblog)
เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง
ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน
ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ
ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้
จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล
สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน
ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง
การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์" บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก
โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น
การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน
นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์
ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน
นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น
เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า
โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น
และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
ปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า ๑๑๒ ล้านบล็อกทั่วโลก
บล็อกนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดสตูล ขนมโค รายวิชาคอมพิวเตอร์และการสร้างองค์ความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จัดทำโดย 1)นายเฉลิมพันธุ์ มีขำ 2)นางสาววันทิยา นัครี 3)นางสาวสุนิสา ปูปาน
ส่วนผสมและปริมาณ
- แป้งข้าวเหนียวแห้ง 2 ถ้วย
- น้ำต้มใบเตย
- น้ำปูนใส 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลปึกก้อนแข็งๆ 1 ถ้วยตวง(หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า)
- มะพร้าวขูดและเกลือป่นเล็กน้อย
วิธีทำ
- นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำปูนใสและน้ำใบเตยจนนุ่มพอที่จะปั้นได้สะดวก ควรนวดนานๆ อย่างน้อย 20 นาที แล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมพักไว้อีก 30 นาที เป็นอย่างน้อย
- ขูดมะพร้าวด้วยที่ขูดมือเป็นเส้นฝอยเล็กๆแล้วเคล้ากับเกลือป่น ถ้าต้องการเก็บไว้หลายชั่วโมง ให้นำขึ้นนึ่งให้ร้อนจัดเสียก่อนใช้
- คลึงแป้งที่นวดเตรียมไว้ออกเป็นแท่งกลมยาว แล้วใช้มีดตัดเป็นท่อนสั้นๆ แต่ละท่อนเมื่อคลึงให้กลมแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
- เมื่อแผ่แป้งแต่ละก้อนให้เป็นแผ่นแบนตามขนาดแล้ว ใส่น้ำตาลปึกที่เตรียมไว้ลงตรงกลาง แผ่นละ 1 ชิ้น ตลบชายหุ้มน้ำตาลให้มิด แล้วคลึงให้กลม
- ต้มน้ำให้เดือด น้ำแป้งที่ปั้นไว้ลงต้ม พอแป้งสุกจะลอยขึ้นมาบนผิวหน้า ใช้ทัพพีโปร่งตักขึ้น ชุบน้ำเย็น สะบัดให้สะเด็ดน้ำ แล้วใส่ลงในมะพร้าว ที่คลุกเตรียมไว้แล้ว คลุกให้เข้ากัน จัดลงในจาน
ข้อแนะนำ- ถ้าแป้งแห้งไป เติมน้ำได้อีก ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ จนแป้งนิ่มพอที่จะดีขึ้น
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับขนมโค
ขนมโคของชาวใต้ก็คือขนมต้มขาวของชาวภาคกลาง ขนมโคตรร่างกับขนมต้มขาวตรงที ขนมโคนั้นจะต้องเติมปูนหรือน้ำปูนใสลงนวดกับแป้งเล็กน้อย เครื่องปรุงอื่นๆและวิธีการทำเหมือนกัน
- แป้งข้าวเหนียวแห้ง 2 ถ้วย
- น้ำต้มใบเตย
- น้ำปูนใส 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลปึกก้อนแข็งๆ 1 ถ้วยตวง(หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า)
- มะพร้าวขูดและเกลือป่นเล็กน้อย
วิธีทำ
- นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำปูนใสและน้ำใบเตยจนนุ่มพอที่จะปั้นได้สะดวก ควรนวดนานๆ อย่างน้อย 20 นาที แล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมพักไว้อีก 30 นาที เป็นอย่างน้อย
- ขูดมะพร้าวด้วยที่ขูดมือเป็นเส้นฝอยเล็กๆแล้วเคล้ากับเกลือป่น ถ้าต้องการเก็บไว้หลายชั่วโมง ให้นำขึ้นนึ่งให้ร้อนจัดเสียก่อนใช้
- คลึงแป้งที่นวดเตรียมไว้ออกเป็นแท่งกลมยาว แล้วใช้มีดตัดเป็นท่อนสั้นๆ แต่ละท่อนเมื่อคลึงให้กลมแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
- เมื่อแผ่แป้งแต่ละก้อนให้เป็นแผ่นแบนตามขนาดแล้ว ใส่น้ำตาลปึกที่เตรียมไว้ลงตรงกลาง แผ่นละ 1 ชิ้น ตลบชายหุ้มน้ำตาลให้มิด แล้วคลึงให้กลม
- ต้มน้ำให้เดือด น้ำแป้งที่ปั้นไว้ลงต้ม พอแป้งสุกจะลอยขึ้นมาบนผิวหน้า ใช้ทัพพีโปร่งตักขึ้น ชุบน้ำเย็น สะบัดให้สะเด็ดน้ำ แล้วใส่ลงในมะพร้าว ที่คลุกเตรียมไว้แล้ว คลุกให้เข้ากัน จัดลงในจาน
ข้อแนะนำ- ถ้าแป้งแห้งไป เติมน้ำได้อีก ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ จนแป้งนิ่มพอที่จะดีขึ้น
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับขนมโค
ขนมโคของชาวใต้ก็คือขนมต้มขาวของชาวภาคกลาง ขนมโคตรร่างกับขนมต้มขาวตรงที ขนมโคนั้นจะต้องเติมปูนหรือน้ำปูนใสลงนวดกับแป้งเล็กน้อย เครื่องปรุงอื่นๆและวิธีการทำเหมือนกัน
ประวัติขนมโค
ขนมโค ขนมพื้นบ้านชาวปักษ์ใต้ คล้ายขนมต้มขาวของคนภาคกลาง เชื่อว่าเป็นขนมโบราณที่ยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
ขนมโคยังมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาตร์กับพื้นที่ภาคใต้มาอย่างยาวนาน จากความเชื่อของคนพื้นถิ่นที่ว่า ขนมโค เป็นขนมมงคล ใช้บนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือทั้งผี-พราหมณ์-พุทธ เช่น หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระพิฆเณศ เป็นต้น
และคงไม่แปลกอะไร ที่ชาวบ้านจึงได้นำวัสดุท้องถิ่นมาทำเป็นขนมเพื่อบูชา แทนการใช้ขนมลาดูที่ชาวอินเดียบูชาองค์พิฆเณศ ซึ่งทางปักษ์ใต้เอง ก็มีขนมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ขนมดู ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล มะพร้าว เช่นเดียวกับขนมลาดู
แต่ขนมดูนั้นยังไม่อยู่ในความรับรู้ว่า สามารถนำมาใช้บูชา บนบานองค์พิฆเณศได้หรือไม่ หรืออาจไม่เป็นที่นิยมเพราะไม่อร่อยเหมือนกับขนมโค ซึ่งได้รับความนิยมสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันมากกว่า ทำให้ความรับรู้นั้นคลี่คลาย และลืมเลือนไป
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ทางประวัติศาตร์ของขนมโคกับพื้นถิ่นใต้นั้นน่าจะสืบเนื่องมาจาก บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ ในอดีตเป็นสะพานเชื่อมโยงการค้าระหว่างโลกตะวันออก(จีนเป็นหลัก)-ตะวันตก(อินเดีย อาหรับ โรมัน)
เกิดเป็นชุมชนสถานีการค้าเมืองท่าทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน บรรดาพ่อค้าจากอินเดียและจีนเดินเรือเลียบชายฝั่งมาแลกเปลี่ยนสิ่งของ ตั้งถิ่นฐาน เช่นเมืองตะโกลา (Takola) หรือตะกั่วป่า เมืองไชยา แหลมโพธิ์ สุราษฎร์ธานี ตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราช ซิงก่อร่า สงขลา(บริเวณคาบสมุทรสทิ้งพระ)
ในการเข้ามาของพ่อค้านัก บวช(พราหมณ์-พุทธ)จากอินเดียนั้น ได้นำลัทธิ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธ เข้ามาเผยแพร่ เกิดการผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่น(ผี) ความเชื่อเหล่านี้ได้ฝังหยั่งรากลึกลงบบผืนดินแห่งคาบสมุทร กลายเป็นวัฒนธรรมความเชื่อ การเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนถึงรูปแบบพิธีกรรมเฉพาะถิ่นใต้ขึ้น เช่นการบนบานองค์พิฆเณศ ด้วยขนมโค เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)